การสร้างแรงจูงใจและให้กำลังใจกับพนักงานในภาวะเศรษฐกิจซบเซา


เจ้าของธุรกิจทุกรายต่างอยากให้พนักงานของตนเองนั้นทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพและขยันขันแข็ง และแน่นอนในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ หลายบริษัทอาจประสบปัญหาเหล่านี้ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อฝ่ายบริหาร ทำให้ผู้นำหลายรายต้องคิดหาแนวทางการแก้ไขต่างๆ จะเห็นว่าความคิดผิดๆที่ไม่อาจสร้างกำลังใจ จะประกอบไปด้วย 1.ให้เงินพิเศษแน่นอนว่าทุกคนชอบได้รับโบนัสทั้งนั้น พนักงานผู้ได้รับโบนัสก็จะขยันทำงานกันมากขึ้น แต่ความสุขที่ว่าก็อยู่ได้ไม่นานนัก2.ทำให้พนักงานมีความสุขไว้ก่อน ซึ่งบางบริษัทถึงกับทำห้องสันทนาการอื่นๆ ที่จะช่วยกระตุ้นแรงจูงใจและสร้างกำลังใจให้พนักงาน แต่มันกลับไม่ได้ส่งผลใดๆ ต่อประสิทธิภาพการทำงาน 3.มองข้ามปัญหา โดยปล่อยปัญหาให้ผ่านไปแทนที่จะหาวิธีแก้ไข อาจเพราะเห็นว่าปัญหานั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่โตและไม่อยากทำร้ายจิตใจพนักงาน 4.ทำอย่างไรก็ไม่เกิดแรงจูงใจคือพนักงานแต่ละคนนั้นควรได้รับการผลักดันที่แตกต่างกันไป 5.ไม่ต้องผลักดันพนักงานที่เก่งอยู่แล้วเพราะคนเหล่านี้เรียนรู้ไว ปรับตัวได้ง่าย และมีประสิทธิภาพ จนทำให้เจ้านายคิดไปเองว่าไม่จำเป็นต้องทำอะไรเพื่อพนักงานเหล่านี้อีก
สำหรับวิธีที่จะช่วยกระตุ้นกำลังใจแก่พนักงานมีด้วยกันดังนี้
– การพูดชื่นชมงานที่สำเร็จแล้วหรืออาจเสร็จแค่บางส่วน
– ถ้าพนักงานดูเหนื่อยหน่ายกับงานที่ทำก็เรียกพวกเขามาคุยเพื่อดูว่าจะสามารถทำอะไรได้บ้าง
– ชี้แจงให้กระจ่างว่าอะไรคือความคาดหมายที่ต้องการได้รับจากงานแต่ละชิ้น
– แบ่งงานให้พนักงานแต่ละคนทำโดยเนื้องานที่หลากหลายไม่ซ้ำซาก
– แสดงให้พนักงานเห็นว่างานที่พวกเขาทำก่อประโยชน์ต่อบริษัทมากแค่ไหน
– ทำให้พนักงานรู้สึกว่าสิ่งที่พวกเขาทำมีความหมายมากเพียงใด
– ติชมชี้แนะการทำงานของพนักงานทั้งด้านดีและด้านลบ เพื่อนำไปพัฒนาการทำงานต่อไป
– ให้อิสระแก่พนักงานในการรับผิดชอบงาน
– สร้างความลึกซึ้งของงานที่พนักงานแต่ละคนทำ
– เปิดโอกาสอย่างเหมาะสมให้พนักงานได้ประสบความสำเร็จในงานที่ทำ
จะเห็นได้ว่าหากผู้บริหารมีความใกล้ชิดกับพนักงาน โดยการพูดคุยกันบ้าง เพื่อถามไถ่ปัญหา ก็จะทำให้ทราบว่าพนักงานต้องการอะไร เพื่อจะได้ส่งผลให้การทำงานออกมามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

This entry was posted in ธุรกิจ. Bookmark the permalink.